Yearly Archive 2017

ฐานการเรียนรู้ 8 ฐานการเรียนรู้

ฐานการเรียนรู้ 8 ฐานการเรียนรู้

1.1 ฐานศาสตร์พระราชา…สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

          เป็นฐานการเรียนรู้ที่นำเสนอเกี่ยวกับการนำหลักพอเพียงมาประยุกต์
ใช้กับการเกษตรโดยยึดหลักสายกลาง ด้วยการเลือกใช้พลังงานทรัพยากร
และเทคโนโลยีการผลิตอย่างปลอดภัย ประหยัด คุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มีขอบข่ายเนื้อหาดังนี้ 

1. เรียนรู้หลักพอเพียง
2. ดินกับการเพาะปลูก
3. ปุ๋ยหมักปลอดภัยและสมุนไพรไล่แมลง
4. เทคโนโลยีระบบการให้น้ำหมุนเวียน
5. การเพาะเห็ด
6. สวนครัวยุคใหม่ ปลูกผักร่วมกับการลี้ยงปลา
7. เกษตรทฤษฎีใหม่
8. ถนนสายส้มตำ
9. บัญชีครัวเรือน

1.2 ฐานอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

       เป็นฐานที่นำเสนอกระบวนการเรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติงานอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การน้อมนำศาสตร์พระราชานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันการถอดบทเรียนตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงที่เชื่อมโยง 3Rs และ LCA มีขอบข่ายเนื้อหาดังนี้

1. เกล็ดมหัศจรรย์ ( การประดิษฐ์หรือทำผลิตภัณฑ์ด้วยเกล็ดปลา)
2. น้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพ
3. ปลาร้าส้ม
4. ขนมมินิโดนัท
5. นมถั่วตัด
6. ข้าวแตนสมุนไพร
7. ไข่เค็มดินเอียด
8. ฝ้ายมหัศจรรย์ ( การทอผ้าฝ้าย )
9. แฝกสานฝัน ( หญ้าแฝก )
10. น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น
11. นวดสมุนไพร
12. ร้าน Reuse center
13. งานอาชีพกับการใช้ประโยชน์จากขยะ Reuse

1.3 ฐานโลกไร้ตะวันสะกิดคิด พิชิตลดโลกร้อน

– เป็นฐานที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
   ในการทำความเข้าใจถึงความสำคัญของพลังงานต่อชีวิต
   เมื่อทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายส่งผลกระทบการใช้พลังงาน
   เช่น พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน เมื่อไม่มีพลังงาน
   ไม่มีไฟฟ้ามนุษย์จะสามารถปรับตัวอยู่กับสิ่งแวดล้อมและชะลอหรือ
   ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเช่นนี้อีก
– เป็นฐานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนกลไกในการเกิดภาวะโลกร้อนโลกร้อน
   กับก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแนวทางในการป้องกัน
   และลดความรุนแรงของผลกระทบทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับบุคคล
   และที่สำคัญวิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเนื่อง
   จากโลกร้อนรวมถึงการเรียนรู้ฉนวนป้องกันความร้อนและฉนวนป้องกันแบบธรรมชาติ

1.4 ฐานบ้านประหยัดพลังงาน

     เป็นฐานที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้พลังงาน
โดยทำให้เกิดความตระหนักและรู้วิธีการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและความรู้มาประยุกต์ใช้
ในชีวิตประจำวัน เช่น การประหยัดไฟและน้ำ(สาธารณูปโภค ) ในห้องต่างๆได้แก่ ห้องนอน
ห้องน้ำ ห้องครัว ร้านค้า ซึ่งเป็นการนำความรู้มาประยุกต์ใช้จากห้องเรียนสีเขียวเพื่อให้เกิด
ทักษะการนำไปประยุกต์ใช้ที่บ้านให้สมดุล

1.5 ฐานพลังงานเพื่อชีวิต

     เป็นฐานที่ครอบคลุมสาระที่เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานด้านพลังงาน เช่น ความหมายของพลังงาน
การถ่ายเทพลังงานในระบบนิเวศรูปแบบของพลังงาน แหล่งพลังงานชนิดต่างๆ พลังงานหมุนเวียน
พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

1.6 ฐาน Zero waste

     เป็นฐานที่นำเสนอแนวทางในการอนุรักษ์พลังงานด้วยการบริโภคอย่างถูกต้องเหมาะสม
การบริโภคและใช้วัสดุสิ่งของต่างๆอย่างรู้คุณค่า โดยการละหลีกเลี่ยง ลดการบริโภคที่สิ้นเปลือง
ในแง่ของการใช้พลังงานและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ซ้ำวัสดุเครื่องใช้ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้
การหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่โดยแยกทิ้งขยะหรือวัสดุเหลือทิ้งเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นทรัพยากร
นำกลับมาใช้ในการผลิตโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการขยะ 3Rs และเกิดทักษะการคัดแยกขยะ 4 ประเภท

1.7 ฐานน้ำใช้รู้ใช้น้ำ

     เป็นฐานที่นำเสนอแนวทางในการประหยัดน้ำการเลือกซื้อสุขภัณฑ์ที่ประหยัดน้ำและเรียนรู้เรื่องของวัฏจักรน้ำ
ประโยชน์น้ำและสถานการณ์การใช้น้ำประปาในปัจจุบัน
รวมทั้งเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดน้ำ รวมทั้งสาธิตวิธีบำบัดน้ำเสีย

1.8 ฐานเส้นทางชีวิตผลิตภัณฑ์ : LCA

– เป็นฐานที่นำเสนอการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เป็นการ
ประเมินเชิงปริมาณของการใช้ทรัพยากรมลพิษที่เกิดขึ้นและผลกระทบ  
สิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิตผลิตภัณฑ์และการบริการ
– การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ( Life CycleAssessment :LCA )
หมายถึงวัฏจักรชีวิตหรือวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ
การผลิต การขนส่งการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการนำไปกำจัดขยะ

Green Office สำนักงานสีเขียว

Green Office สำนักงานสีเขียว ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพิ่มเงินในกระเป๋า

เชื่อเหลือเกินครับว่า คนวัยทำงานทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ที่ทำงาน หรือออฟฟิศมากกว่าอยู่ที่บ้านซะอีก (ยกเว้นคนที่ทำงานที่บ้าน หรือโฮมออฟฟิศนะ) ซึ่งนั่นก็หมายความว่า การใช้พลังงานที่ทำงานนั่น ย่อมสิ้นเปลืองมากกว่าอยู่ที่บ้านแน่นอน และการใช้งานอย่างสิ้นเปลืองนี้ย่อมกระทบกับสิ่งแวดล้อมโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงเกิดโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นมา ชื่อว่า “Green Office” เกิดขึ้น

โครงการ Green Office หรือ ออฟฟิศสีเขียว เกิดขึ้นเพื่อให้ทุกสำนักงานได้ร่วมตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์เครื่องใช้ในที่ทำงานอย่างรู้คุณค่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปี 2558 นี้มีสำนักงานจากองค์กรภาครัฐ และเอกชน รวมถึง อาคารสำนักงานใหญ่ การไฟฟ้านครหลวง ได้เข้าร่วมกิจกรรมในการอนุรักษ์ใช้ทรัพยากรในสำนักงานครั้งนี้ด้วยเช่นกัน โดยในบทความนี้จะเป็นการแนะนำแนวทางการทำสำนักงาน หรือออฟฟิศของคุณให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นมิตรต่อเงินในกระเป๋าคุณมากขึ้น

ทำไมต้อง Green Office?

พื่อ…..ลดการใช้พลังงาน ทั้งพลังงานไฟฟ้า น้ำ ลดการใช้พลังงานอย่างสูญเปล่าสิ้นเปลือง รวมถึงจะช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงาน ล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแทบทั้งสิ้น ซึ่งก๊าซเรือนกระจกนี้เอง เป็นตัวการหลักทำให้อุณภูมิในโลกร้อนขึ้นนั่งเอง (ให้จำไว้ว่า Green Office น่ะดี แต่ Green House Effect น่ะ ไม่ดีนะจ๊ะ)

เพื่อ…..ลดค่าใช้จ่าย เมื่อเราสามารถประหยัดพลังงานได้ ค่าใช้พลังงานต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ก็จะลดลงได้ รวมถึงลดปริมาณการใช้กระดาษภายในสำนักงาน ก็จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้

เพื่อ…..สร้างจิตสำนึก เพื่อสร้างความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึก ตระหนักในการใช้ทรัพยากร รวมถึงแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรต่างๆ เป็นวิธีที่จะช่วยให้รู้จักการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างยั่งยืน ทั้งในชีวิตประจำวันและการใช้ทรัพยากรภายในสำนักงานได้เป็นอย่างดี

ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?

      “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” (greenhouse effect)  คือ  ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
เนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดย
โมเลกุลของ ไอน้ำ  คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)
ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้
อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้
ีต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชน
ถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน

 

เรือนกระจก

ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก  แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช  จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect)

 

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ  CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น 
              – การเผาไหม้เชื้อเพลิง
              – การผลิตซีเมนต์
              – การเผาไม้ทำลายป่า

    ก๊าซชนิดใดบ้างที่มีบทบาทในการทำให้เกิดปรากฏการณ์ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น

             –   ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากมูลสัตว์เลี้ยง เช่น วัว  ควาย  การเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ 

             –  ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ย มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย การสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิงจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่นอุตสาหกรรมเคมี  อุตสาหกรรมพลาสติก
บางชนิดอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน 

             – คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFCs) เป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ประกอบด้วย คาร์บอน (C) คลอรีน (Cl) และฟลูออรีน (F) ซึ่งเป็นสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเป็นสาเหตุ
ุทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น รังสีเหนือม่วงชนิด B หรือ Ultraviolet B ส่งมายังผิวโลกมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ใน
อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โฟม กระป๋องสเปรย์ สารดับเพลิง 
สารชะล้าง ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์

              ในปัจจุบันมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซนมากขึ้นและพบว่าสาเหตุหลักของปัญหา
ชั้นโอโซนถูกทำลายนั้นมาจากสารกลุ่ม CFCsเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสารเคมีในกลุ่มฮาโลคาร์บอน
ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ฟลูออรีน โบรมีน คาร์บอน และไฮโดรเจน จากการสำรวจโอโซนที่บริเวณ
ขั้วโลกใต้ ในปี พ.ศ. 2528 พบหลุมโอโซนที่ขั้วโลกใต้ (antartic ozone hole)  ซึ่งการถูกทำลายนี้จะเกี่ยวข้อง กับสารคลอรีนเสมอ  ทำให้ประเทศในกลุ่มซีกโลกตะวันตกและองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
มีมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันและมีข้อกำหนดต่างๆขึ้น 

การเเยกขยะ

 

ประเภทของขยะ

  • ขยะเปียก หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น
  • ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้ ยาง เป็นต้น
  • ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ และขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล

แนวทางจัดการขยะมูลฝอย

กำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ เช่น การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันในด้านต้นทุนการดำเนินงาน ความพร้อมขององค์กร ปริมาณและประเภทของขยะ เป็นต้น 
(ดูวิธีกำจัดขยะ) 
จัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R คือ
– Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง
– Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น
– Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ 
– Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ 
– Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง 
การแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น
– ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก
– ขยะเปียกสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 
– ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีกำจัดที่ปลอดภัย 
ส่งเสริมการผลิตที่สะอาดในภาคการผลิต โดยลดการใช้วัสดุ ลดพลังงาน และลดมลพิษ เพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น 
ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการจัดการขยะ 
ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ 
รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในชุมชน

หลักเกณฑ์ มาตรฐาน ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย

 

4.1.1 ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย

1) ถังขยะ

เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่จะต้องมีการตั้งจุดรวบรวมขยะมูลฝอย (Station) และให้มีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ โดยมีถุงบรรจุภายในถังเพื่อสะดวกและไม่ตกหล่น หรือแพร่กระจาย ดังนี้

สีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้

สีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ

สีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ

สีฟ้า รองรับขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร

นอกจากนี้ยังมีถุงพลาสติกสำหรับรองรับขยะมูลฝอยในแต่ละถัง โดยมัดปากถุงสีเดียวกับถังที่รองรับมูลฝอยตามประเภทดังกล่าวข้างต้น

ในกรณีที่สถานที่มีพื้นที่จำกัดในการจัดวางภาชนะรองรับขยะมูลฝอยและมีจำนวนคนที่ค่อนข้างมากในบริเวณพื้นที่นั้น เช่น ศูนย์การประชุมสนามบิน ควรมีถังที่สามารถรองรับขยะมูลฝอยได้ทั้ง 4 ประเภทในถังเดียวกัน โดยแบ่งพื้นที่ของถังขยะมูลฝอยออกเป็น 4 ช่อง และตัวถังรองรับขยะมูลฝอยทำด้วยสแตนเลส มีฝาผิดแยกเป็น 4 สี ในแต่ละช่องตามประเภทของขยะมูลฝอยที่รองรับ ดังนี้

ฝาสีเขียว รองรับขยะมูลฝอยที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว

ฝาสีเหลือง รองรับขยะมูลฝอยที่สามารถนำรีไซเคิล หรือขายได้

ฝาสีแดงรองรับขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ฝาสีฟ้ารองรับขยะมูลฝอย ที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิลและมีสัญลักษณ์ข้างถัง

2) ถุงขยะ

สำหรับคัดแยกขยะมูลฝอยฝนครัวเรือนและจะต้องมีการคัดแยกรวบรวมใส่ถุงขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ถุงสีเขียว รวบรวมขยะมูลฝอยที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็วสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้

ถุงสีเหลือง รวบรวมขยะมูลฝอยที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อลูมิเนียม

ถุงสีแดง รวบรวมขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องสารฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ

ถุงสีฟ้า รวบรวมขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร

4.12. เกณฑ์มาตรฐานภาชนะรองรับขยะมูลฝอย

ควรมีสัดส่วนของถังขยะมูลฝอยจากพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก

ไม่มีส่วนประกอบสารพิษ (toxic substances) หากจำเป็นควรใช้สารเติมแต่งในปริมาณที่น้อยและไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

มีความทนทาน แข็งแรงตามมาตรฐานสากล

มีขนาดพอเหมาะมีความจุเพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอย สะดวกต่อการถ่ายเทขยะมูลฝอยและการทำความสะอาด

สามารถป้องกัน แมลงวัน หนู แมว สุนัข และสัตว์อื่น ๆ มิให้สัมผัสหรือคุ้ยเขี่ยขยะมูลฝอยได้

5. การลดและการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย

5.1 การลดปริมาณขยะมูลฝอย

การลดปริมาณขยะมูลฝอยให้ได้ผลดีต้องเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ทำให้ได้วัสดุเหลือใช้ที่มีคุณภาพสูง สามารถนำไป Reused-Recycle ได้ง่าย รวมทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดมีปริมาณน้อยลงด้วย ซึ่งการคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เช่น ครัวเรือน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน บริษัท สถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งปริมาณ และลักษณะสมบัติขยะมูลฝอยที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้การคัดแยกขยะมูลฝอยสามารถดำเนินการได้ 4 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1 การคัดแยกขยะมูลฝอยทุกประเภทและทุกชนิด

ทางเลือกที่ 2 การคัดแยกขยะมูลฝอย 4 ประเภท (Four cans)

ทางเลือกที่ 3 การคัดแยกขยะสด ขยะแห้ง และขยะอันตราย (Three cans)

ทางเลือกที่ 4 การคัดแยกขยะสดและขยะแห้ง (Two cans)

กว่าจะมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กว่าจะมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จากนโยบายของรัฐบาล โดย พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองการลดคาร์บอน ( Carbon Emission ) ในระดับโลกและอาเซียนและได้กำหนดให้ประเทศไทยมีเป้าหมายในการลดคาร์บอนให้สามารถลดคาร์บอนได้อย่างน้อยร้อยละ 25 – 30 ภายใน 20 ปี จึงได้มีนโยบายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการด้าน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดสรรงบประมาณจากงบบูรณาการด้านการจัดการขยะ โดยกรมควบคุมมลพิษเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการหน่วยงานเรื่องการจัดการขยะ ให้จัดทำแผนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะในสถานศึกษาและชุมชน  

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ดำเนินกิจกรรมในโครงการลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหวังให้เป็นการดำเนินการพัฒนาต่อยอดการลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานศาสตร์พระราชา พัฒนาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาสู่สถานศึกษาและชุมชน จึงได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน ประกอบกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายและโครงการที่เกี่ยวกับการสร้างทัศนคติด้านการอนุรักษ์พลังงานจึงทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงาน ( ห้องเรียนสีเขียวและโรงเรียนสีเขียว ) ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ. ) ได้สนับสนุนห้องเรียนสีเขียว เพื่อเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ให้กับเยาวชนและชุมชนในจังหวัดขอนแก่นและภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นส่วนหนึ่งของฐานการเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

  อนึ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ได้บันทึกตกลงความร่วมมือกับโรงเรียนพล เมื่อวันที่ 22  เมษายน  2559  ในความร่วมมือก่อตั้งและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขยายผลสู่สถานศึกษาและชุมชนในระดับภูมิภาค และจะเป็น Nature school ของประเทศไทยในอนาคต

Hello world!

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!